ประกันโรคร้ายแรง
แผนประกันโรคร้ายแรงจาก AIA เพื่อช่วยบรรเทาค่าใช้จ่ายในวันที่โรคร้ายมาถึง สิ่งที่คนไข้ที่ป่วยเป็นโรคร้ายแรงกังวลใจ นอกจากจะเป็นเรื่องของความรุนแรงของโรคและการรักษา ก็คือค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่สูงมาก และยังมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี จากนวัตกรรมการรักษาที่ดีและทันสมัยขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากค่าใช้จ่ายในเรื่องของการรักษาอีกอย่างหนึ่งที่จะตามมาคือค่าดูแลคนไข้ หรือโอกาสในการสูญเสียรายได้ของผู้ป่วยหรือคนในครอบครัวที่จะต้องมาดูแล อย่าให้โรคร้ายทำลายแผนการเงินและอนาคตของทั้งครอบครัว ประกันที่จะชดเชยผลประโยชน์เป็นเงินก้อน เพื่อให้คุณสามารถวางแผนค่ารักษาพยาบาลที่ดีที่สุดและการพักรักษาตัวได้โดยไม่ต้องวลกับเรื่องค่าใช้จ่าย
ประกันโรคร้ายแรง คืออะไร ?
ประกันโรคร้ายแรง คือ ประกันที่จะให้ความคุ้มครองกรณีที่ตรวจพบว่าผู้เอาประกันเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงตามที่ระบุไว้ในนิยามของกรมธรรม์ ซึ่งมักจะจ่ายเป็นเงินก้อนให้ในกรณีที่ตรวจพบเพื่อให้ผู้เอาประกันสามารถนำเงินไปใช้จ่ายในการรักษาตัวหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกิดขึ้นระหว่างการรักษาตัวได้โดยโรคร้ายแรงมักจะเป็นกลุ่มโรคที่ก่อให้เกิดความเจ็บป่วยที่รุนแรง อันตรายต่อชีวิต และส่งผลให้การดำรงชีพของผู้ป่วย เป็นไปอย่างยากลำบาก และคุณภาพชีวิตของคนไข้ลดลงจากปกติอย่างมาก ซึ่งโรคดังกล่าวมักจะมีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูง และมีความซับซ้อน ต้องใช้เครื่องมือ ยา และผู้เชี่ยวชาญพิเศษในการรักษา ได้แก่ กลุ่มโรคมะเร็ง สมอง หัวใจ อวัยวะสำคัญ เช่น ตับวาย ไตวาย การติดเชื้อรุนแรง สูญเสียอวัยวะ หรือ ทุพพลภาพ เป็นต้น ซึ่งประกันโรคร้ายแรงก็จะจ่ายสินใหม่ให้ ในกรณีที่ลูกค้าตรวจพบว่าเป็นโรคร้ายแรงในระดับที่ระบุไว้ในนิยามตามกรมธรรม์ระบุ
ประกันโรคร้ายแรง AIA มีโรคอะไรบ้าง ?
สำหรับรายชื่อโรคร้ายแรงที่บริษัท AIA ให้ความคุ้มครองจะมีความคุ้มครองสำหรับระดับต้นถึงระดับปานกลาง 18 โรค และ ระดับรุนแรง 44 โรค ขึ้นกับแต่ละแผนว่าให้ความคุ้มครองระดับใดบ้าง โดยมีรายการโรคที่ให้ความคุ้มครองดังต่อไปนี้
โรคร้ายแรงระดับต้นถึงระดับปานกลาง
-
โรคมะเร็งระยะไม่ลุกลาม
-
การผ่าตัดเนื้องอกต่อมใต้สมองออก
-
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่รักษาด้วยการสวนหลอดเลือดหัวใจ
-
การผ่าตัดลอกเยื่อหุ้มหัวใจ
-
การรักษาโรคลิ้นหัวใจด้วยการสวนหลอดเลือด
-
การรักษาโรคหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้าโดยวิธีใส่สายสวนทางหลอดเลือด หรือภาวะการโป่งพองของหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้าที่ระดับอกหรือระดับท้อง
-
การใส่เครื่องกรองลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำใหญ่
-
โรคหลอดเลือดสมองที่ต้องได้รับการผ่าตัดลอกหลอดเลือดแดงคาโรติด
-
โรคหลอดเลือดสมองที่ต้องได้รับการรักษาโดยวิธีใส่สายสวนเส้นเลือดแดงบริเวณคอ
-
โรคหลอดเลือดสมองโป่งพองที่รักษาโดยใช้ขดลวดผ่านสายสวนทางหลอดเลือด
-
การผ่าตัดฝังท่อระบายในโพรงสมอง
-
การผ่าตัดตับออกหนึ่งกลีบ
-
การผ่าตัดไตออกหนึ่งข้าง
-
การผ่าตัดปอดออกหนึ่งข้าง
-
แผลไหม้ชนิดรุนแรงน้อย (การเกิดแผลไหม้ระดับ 2)
-
การผ่าตัดเลือดคั่งใต้เยื่อหุ้มสมองอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ
-
การสูญเสียแขนหรือขาหนึ่งข้าง หรือตาหนึ่งข้าง
-
โรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา
โรคร้ายแรงระดับรุนแรง
-
โรคมะเร็งระยะลุกลาม
-
เนื้องอกในสมองชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง
-
กล้ามเนื้อ หัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด
-
การผ่าตัดเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
-
โรคกล้ามเนื้อหัวใจ
-
การผ่าตัดลิ้นหัวใจด้วยวิธีการเปิดหัวใจ
-
การผ่าตัดเส้นเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้า
-
โรคแรงดันในหลอดเลือดแดงปอดสูงแบบปฐมภูมิ
-
โรคหลอดลมปอดอุดกั้นเรื้อรังขั้นรุนแรง / โรคปอดระยะสุดท้าย
-
โรคโลหิตจางจากไขกระดูกไม่สร้างเม็ดโลหิต
-
โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน
-
โรคหลอดเลือดสมองโป่งพองที่ต้องรักษาโดยการผ่าตัด
-
ภาวะโคม่า
-
โรคสมองเสื่อม ชนิดอัลไซเมอร์
-
โรคเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย
-
สมองอักเสบจากเชื้อไวรัส
-
โรคพาร์กินสัน
-
โรคระบบประสาทมัลติเพิล สะเคลอโรสิส
-
โรคของเซลล์ประสาทควบคุมการเคลื่อนไหว
-
ภาวะอะแพลลิก
-
อัมพาตของกล้ามเนื้อแขนหรือขา
-
โรคโปลิโอ
-
โรคกล้ามเนื้อเสื่อม
-
ตับวาย
-
ไตวายเรื้อรัง
-
โรคลำไส้อักเสบเป็นแผลรุนแรง
-
การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ หรือปลูกถ่ายไขกระดูก
-
โรคไวรัสตับอักเสบขั้นรุนแรง
-
ภาวะตับอ่อนอักเสบที่กลับเป็นซ้ำและเรื้อรัง
-
ไตอักเสบลูปูส จากโรคซิสเต็มมิค ลูปูส อิริเธมาโตซูส
-
ภาวะข้ออักเสบรูมาตอยด์ชนิดรุนแรง
-
แผลไหม้ฉกรรจ์ (การเกิดแผลไหม้ระดับ 3)
-
การบาดเจ็บที่ศีรษะอยางรุนแรง
-
การสูญเสียการดำรงชีพอย่างอิสระ
-
การทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง
-
ไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองอย่างถาวรตั้งแต่ 3 อย่างขึ้นไป ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 180 วัน หรือ
-
ไม่สามารถประกอบอาชีพใดๆ เพื่อรับค่าตอบแทนหรือกำไรได้ ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 180 วัน (คุ้มครองตั้งแต่อายุ 17 ปีบริบูรณ์จนถึงก่อนอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์) หรือ การสูญเสียสายตา มือ หรือเท้า ทั้ง 2 ข้าง หรือสูญเสียมือ 1 ข้าง และ เท้า 1 ข้าง หรือสูญเสียสายตา 1 ข้าง และมือ 1 ข้าง หรือสูญเสียสายตา 1 ข้าง และเท้า 1 ข้าง
-
-
ตาบอด
-
การฉีกขาดของรากประสาทต้นแขน
-
การสูญเสียความสามารถในการพูด
-
โรคเนื้อเยื่อพังผืดอักเสบติดเชื้อและเป็นเนื้อตาย
-
โรคเท้าช้าง
-
โรคไข้รูมาติกที่ทำให้หัวใจผิดปกติ
-
โรคคาวาซากิที่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนของหัวใจ
-
โรคเบาหวานชนิดที่ 1
-
โรคน้ำไขสันหลังคั่งในโพรงสมองซึ่งเกิดภายหลังและต้องใส่ท่อระบาย
ทำไมต้องทำประกันโรคร้ายแรง ?
นอกจากโรคร้ายแรง จะส่งผลร้ายต่อสุขภาพและการดำรงชีพของผู้ป่วยแล้ว ยังส่งผลต่อภาวะทางเศรษฐกิจศาสตร์ของครอบครัวผู้ป่วยอย่างมาก ทั้งในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่สูงมาก ภาวะที่ผู้ป่วยเองอาจจะไม่สามารถทำงานเพื่อหารายได้เลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวได้ หรือยิ่งไปกว่านั้นอาจจะกลายเป็นภาระของคนในครอบครัวที่ต้องมาดูแล ต้องมีการจ้างพยาบาล หรือบางครอบครัวอาจต้องให้สมาชิกในครอบครัวต้องลาออกจากงานมาเพื่อดูแลผู้ป่วย ทำให้เกิดผลเสียต่อภาระทางการเงินของครอบครัวเป็นอย่างมาก เหมือนกับคำว่า “ล้มคนเดียว ล้มทั้งบ้าน” การทำประกันโรคร้ายแรงไว้ก็จะเข้ามาช่วยบรรเท่าภาระค่าใช้จ่ายหากมีใครในครอบครัวต้องเจ็บป่วยหนักด้วยโรคร้ายแรงซึ่งในปัจจุบันประกันโรคร้ายแรงก็มีหลายรูปแบบให้เลือกใช้บริการและบริหารจัดการความเสี่ยงในส่วนนี้ มีทั้งแบบที่เบี้ยถูกแต่ให้ความคุ้มครองสูง แบบที่มีเงินสะสมในตัว แบบที่ชำระเบี้ยระยะสั้นแต่ให้ความคุ้มครองได้ระยะยาว เป็นต้น ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับงบประมาณและวิธีการวางแผนของลูกค้าแต่ละท่านแต่ละครอบครัว
ค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคร้ายแรง

ประกันโรคร้ายแรงที่ไหนดี ทำไมต้อง AIA
-
เป็นบริษัทที่มีความมั่นคงทางการเงินสูง มีเครือข่ายบริษัทในประเทศต่างๆ และเป็นหนึ่งในบริษัทประกันชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในโลก
-
มีความเป็นมืออาชีพในการดูแล ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และ ประกันโรคร้ายแรง
-
ได้สิทธิ์ลูกค้า AIA Vitality ได้รับสิทธิพิเศษและส่วนลดต่างๆอย่างมากมายกับบริษัทพันธมิตรเพื่อช่วยดูแลสุขภาพ อีกทั้งสามารถรับส่วนลดเบี้ยประกันได้สูงสุดถึง 25%
-
รับบริการจัดการดูแลผู้ป่วยรายบุคคล (Personal Medical Case Management : PMCM) โดย Medix ที่ครอบคลุมการให้คำปรึกษา 3 กลุ่มโรค ได้แก่ มะเร็งและเคสต้องสงสัยมะเร็ง, หัวใจและหลอดเลือด, โรคกระดูกและข้อที่ไม่ต้องการการรักษาโดยเร่งด่วน โดยการดูแลของทีมแพทย์ผู้เชียวชาญและพยาบาลผู้ประสานงานทางการแพทย์ตลอด 24 ชัวโมง